Search Result of "สุพิศ จินดาวณิค"

About 5 results
Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : การสำรวจดินเพื่อการอนุรักษ์ดิน)

ผู้เขียน:Imgสุพิศ จินดาวณิค

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

เมื่อพวกเราออกไปสำรวจและทำแผนทีดินกันในต่างจังหวัดนั้นมักจะมีผู้ชอบมาถามอยู่เสมอ ๆ ว่า “พวกคุณมาทำอะไรกันนี่” ครั้นเราตอบไปว่า “เรากำลังสำรวจดินกันอยู่” เขาก็อาจถามต่อไปอีกว่า “จะสำรวจเอาไปทำไมกันนะ” ตอนนี้พวกเราก็มีโอกาสบอกเล่าให้เขาเข้าใจถึงงานและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการสำรวจดิน แล้วเขาก็พลอยได้รับรู้ศิลปะวิทยาการ ทางอนุรักษ์ดินและน้ำ (soil and water conservation) ไปในตัวด้วย

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 002, Issue 1, Jan 62 - Jan 62, Page 31 - 38 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : การทดลองหาการขาดธาตุอาหารบางอย่างของดินนา อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยการปลูกข้าวในกระถาง1 )

ผู้เขียน:Imgสุพิศ จินดาวณิค

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

ตามปรกติแล้วการทำนาในท้องที่อำเภอบางเขน ยังจัดว่าได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ คือประมาณไร่ละ 25 ถัง สาเหตุที่ทำให้การทำนาได้ผลน้อยอาจได้แก่ ดินไม่มีธาตุอาหารที่ต้นข้าวต้องการอย่างเพียงพอ และดินอาจเป็นกรดจัดไป การทดลองที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการทดลองใช้ปุ๋ยร่วมปูนขาว ใช้ปลูกข้าวในกะถาง ดินที่ใช้คือดินธรรมดาของที่นาอำเภอบางเขน การทดลองทำที่แผนกเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ใช้เวลาระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2501 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 002, Issue 1, Jan 62 - Jan 62, Page 5 - 10 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : คาโรตินอยด์ในสัตว์ต่าง ๆ)

ผู้เขียน:Imgสุพิศ จินดาวณิค

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

คาโรตินอยด์เป็นรงควัตถุ (pigments) ที่มีสีแตกต่างกันจากเหลืองส้มถึงแดงปรากฏอยู่ในพืชและสัตว์หลายชนิด มีสูตรทางเคมีใกล้เคียงกับไวตามินเอ ความสำคัญก็คือ คาโรตินอยด์หลายชนิดสามารถเปลี่ยนเป็นไวตามินเอได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีประโยชน์ในด้านที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้สัตว์หลายชนิดยังสามารถเก็บคาโรตินอยด์ไว้ในร่างกายอีก โดยมีคาโรตินอยด์แตกต่างดัน และในปริมาณต่างกันในสัตว์แต่ละชนิด ดังนั้นสารคาโรตินอยด์จึงแสดงคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของสัตว์นั้น ๆ ด้วย

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 002, Issue 1, Jan 62 - Jan 62, Page 27 - 30 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : การป้องกันกำจัดหนอนคืบละหุ่ง (Achaca Januiu Linn.))

ผู้เขียน:Imgสุพิศ จินดาวณิค

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

ละหุ่งเป็นพืชไร่ชนิดหนึ่งที่กสิกรไทยนิยมปลูกกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ นอกจากข้าวโพด, ฝ้าย, ยาสูบ, อ้อย และถั่วต่างๆแล้ว สถิติการปลูกละหุ่งของแผนสถิติ กรมกสิกรรมแสดงว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มีเนื้อที่ปลูกละหุ่งในประเทศไทยเพียง 3,649 ไร่ แต่เมื่อถึงปีพ.ศ. 2501 นี้ ได้มีเนื้อที่ปลูกละหุ่งเพิ่มขึ้นเป็น 144,433 ไร่ จึงเห็นได้ว่าได้มีการปลูกละหุ่งเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้เพราะละหุ่งเป็นพืชที่ปลูกขึ้นได้ง่ายขึ้นได้ทั่วไป ไม่ต้องลงทุนและบำรุงรักษามากมายเหมือนพืชไร่ชนิดอื่น เมล็ดละหุ่งเป็นผลิตผลที่อยู่ในความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมาก ทั้งนี้เพราะน้ำมันจากเมล็ดละหุ่งมีคุณสมบัติดี เป็นน้ำมันที่ไม่แห้งง่าย มีความเหนียวความหนืดดีกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ และใช้เป็นประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นน้ำมันสำหรับหยอดเครื่องจักร เครื่องยนต์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องบิน นอกจากนี้ยังอาจใช้ทำเป็นสบู่อ่อนสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทอ ช่วยทำให้เส้นใยพวกปอมีลักษณะเป็นเงาคล้ายไหม ใช้ผสมทำน้ำหอมและน้ำมันใส่ผม ใช้ผสมเป็นน้ำยาที่ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง เพราะมีคุณสมบัติในการรักษาหนังสัตว์ทำให้เป็นเงาอ่อนนุ่ม ใช้ผสมทำเป็นยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพืช ใช้เป็นน้ำมันสำหรับผสมสี เช่น สีทาบ้านทำให้สีมีคุณภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ในการทำอุตสาหกรรมพลาสติก และ ไนลอน เป็นยาถ่ายใช้เป็นน้ำมันจุดตะเกียง และจากการค้นคว้าเร็วๆนี้ พบว่าต้นละหุ่งก็ใช้ทำเป็นกระดาษที่มีคุณภาพดีได้ด้วย

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 002, Issue 2, Apr 62 - Apr 62, Page 89 - 95 |  PDF |  Page 

Img

ที่มา:วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์

หัวเรื่อง:ไม่มีชื่อไทย (ชื่ออังกฤษ : RICE FIELD FISH CULTURE IN THE LOWER CHIENGRAK-KLONG DAN IRRIGATION PROJECT AREA )

ผู้เขียน:Imgสุพิศ จินดาวณิค

สื่อสิ่งพิมพ์:pdf

Abstract

INTRODUCTION Rice field fish culture, as an intensive form of fish farming, has been practiced for a long time in Japan, Taiwan, Indonesia, and India. Fish farming was started in Japan 100 years ago and has attained very good results during the last 50 years. For Thailand, this type of fish farming is a new occupation. If started about 1957, and is therefore only in the formative stage. The ways in which fish farming is conducted are similar to those used abroad. The dofferrences are only in the details. It is of in terest to note that rice field fish culture in Thailand Started in the Lower Chiengrak- Klong Dan Irrigation Project Area, which is a part of the alluvial Central Plain of the country, where one crop of rice is grown per year.

Article Info
Agriculture and Natural Resources -- formerly Kasetsart Journal (Natural Science), Volume 002, Issue 3, Jul 62 - Jul 62, Page 97 - 111 |  PDF |  Page